9779 จำนวนผู้เข้าชม |
ฟ้อนล่องน่าน เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดน่านทางภาคเหนือของประเทศไทย เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากการล่องแม่น้ำน่านในสมัยก่อนที่ผู้คนเดินทางจากวรนคร (เมืองปัว) ไปยังภูเพียงแช่แห้ง
การเต้นรำแสดงโดยกลุ่มผู้ชาย (อดีต) ที่สวมเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมและเคลื่อนไหวช้าๆ เป็นจังหวะตามจังหวะของกลองและเครื่องดนตรีอื่นๆ กล่าวกันว่าการร่ายรำแสดงถึงการไหลของแม่น้ำน่านและความงามของธรรมชาติโดยรอบ
ฟ้อนล่องน่านมักแสดงในช่วงเทศกาลทางวัฒนธรรมและโอกาสพิเศษอื่นๆ ในจังหวัดน่าน และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของจังหวัด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความพยายามในการอนุรักษ์และส่งเสริมการฟ้อนรำอันเป็นเอกลักษณ์นี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการฟ้อนรำนี้จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองน่านต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน
ท่าทางต่างๆของของฟ้อนล่องน่าน เมื่อมองให้ลึกผ่านสุนทรียะทางโสตและจักษุแล้วจะสังเกตเห็นได้ว่า การฟ้อนล่องน่านสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต กิริยาท่าทางของหญิงชาวน่านโบราณ ที่ใช้ชีวิตอยู่บนเรือขณะเดินทางตั้งแต่ตื่นขึ้นมาก็ไหว้สาสิ่งศักดิ์สิทธ์ เกล้ามวยผมก่อนออกไปภายนอกเรือ และยังสื่อถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างพระพุทธศาสนากับชาวน่านในอดีตที่ไม่ว่าจะทำการอันใดก็ย่อมมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
ในการฟ้อนล่องน่าน ผู้ฟ้อนจะมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์คือ ผ้าซิ่นเป็นซิ่นม่าน เสื้อแขนกระบอก ทัดดอกไม้ไหว หรือดอกไม้ตามฤดูกาลบนมวยผม และห่มผ้าสไบเฉียง ซึ่งเป็นผ้าทอมือของเมืองน่าน นิยมใส่กำไลมือและเท้า เพื่อให้เกิดเสียงตามท่าทางการเคลื่อนไหว โดยมีเครื่องดนตรี ฆ้อง กลอง ปี่แน และฉาบ ประกอบจังหวะในการร่ายรำ
ฟ้อนล่องน่านถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดสู่ลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป เพื่อไม่ให้ฟ้อนล่องนานหายไปกับรุ่นคนเฒ่าคนแก่ของเมืองน่าน ซึ่งนับว่าโชคดีที่ในปัจจุบันได้มีภาคีเครือข่ายต่างๆเข้ามาช่วยดูแลในการอนุรักษ์การฟ้อนล่องน่านมากขึ้น และได้มีการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดไปสู่เยาวชน และผู้สนใจในชุมชน โดยมีภาคีเครือข่ายหลักอยู่ที่ชุมชนดอนแก้ว ชุมชนศรีพันต้น วัดพระธาตุเขาน้อย และวัดพระธาตุแช่แห้ง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชุมชนที่ได้เข้าร่วมสืบสานถ่ายทอดการฟ้อนล่องน่านต่อไปยังลูกหลาน และคนในชุมชน เช่น ชุมชนสถารศ และชุมชนมหาโพธิ เป็นต้น
ซึ่งภาคีในแต่ละชุมชนก็จะมีการฝึกหัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการร่วมทำกิจกรรมในชุมชนที่เป็นภาคีเครือข่ายและนอกชุมชนเครือข่าย เพื่อให้ฟ้อนล่องน่านได้รับการถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลังให้รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่งดงามนี้ให้คงอยู่คู่เมืองน่านสืบไป