การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์น่าน ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน ตามพันธกิจสมาชิกเมืองสร้างสรรค์องค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ ตามศักยภาพของพื้นที่และสอดคล้องเหมาะสมและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกับบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์น่านสู่ความยั่งยืน
พันธกิจและเป้าหมายการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์
องค์การยูเนสโก ได้เสนอแนวคิดเรื่อง เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (The Creative Cities Networks) เมื่อปี 2547 หรือ ค.ศ. 2004 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือตั้งแต่การพัฒนาในระดับท้องถิ่นนำไปสู่ระดับ นานาชาติ เพื่อสร้างวัฒนธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้ง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคชุมชน เพื่อสร้างเสริมอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างเมืองต่างๆ จากทั่วโลก เข้าด้วยกัน องค์การยูเนสโก ให้ความสำคัญด้านวัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของผู้คน การเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง เครือข่ายเมือง เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสาเร็จและยั่งยืนเมืองสร้างสรรค์ จึงเป็นแนวคิดที่เกิดจากการร่วมกันผลักดันและขับเคลื่อนบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความร่วมมือซึ่งกันและกัน จึงเป็นที่มาของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ UCCN (UNESCO Creative Cities Network)
ความหมายของเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ที่องค์การยูเนสโกให้คำจำกัดความ จึงหมายถึง เมืองที่มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนทั้งนี้เมืองสร้างสรรค์จำแนกได้เป็น 7 สาขา โดยมีสมาชิกเมืองสร้างสรรค์จากทั่วโลก ทั้งสิ้น 301 เมือง จาก 84 ประเทศ (ข้อมูลล่าสุด เมื่อปี 2564)
ประกอบด้วย
1) สาขาวรรณคดี (Literature) จานวน 43 เมือง
2) ด้านการออกแบบ (Design) จานวน 46 เมือง (กรุงเทพฯ เมื่อปี 2562)
3) ภาพยนตร์ (Film) จานวน 21 เมือง
4) ดนตรี (Music) จานวน 61 เมือง
5) หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) 59 เมือง (เชียงใหม่: 2560 และสุโขทัย: 2562)
6) สื่อมีเดียอาร์ต (Media Arts) จานวน 22 เมือง
7) อาหาร (Gastronomy) จานวน 49 เมือง (ภูเก็ต เมื่อปี 2558, เพชรบุรี 2564)
หมายเหตุ: สมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุด เมื่อปี 2564
บทบาทของวัฒนธรรมเป็นประเด็นสำคัญในวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยได้รับการยอมรับจาก 193 ประเทศ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 ประกอบด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกของเรา ทั้งนี้การสนับสนุนในการบูรณาการงานด้านวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ได้รับการทบทวนและยอมรับให้เป็นส่วนหนี่งของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป้าหมายที่ 11 (SDG11) คือ การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามนโยบายและกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์น่าน ตามกรอบพันธกิจภายใต้การรับรองการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์