ลงรักปิดทอง หรือลายคำ
งานปิดทองคำเปลวประดับอาคารพุทธศาสนสถาน ประกอบด้วย ภาพอดีตพระพุทธเจ้า ลายพันธุ์พฤกษา เทวดา และลายสัตว์หิมพานต์
ลายคำมี 2 แบบ คือ
- ลายคำ แบบมีแม่พิมพ์ฉลุลาย (Stencil) โดยการปิดทองคำเปลวลายฉลุ จะนิยมใช้กับลายที่มีความซ้ำ ๆ กัน ที่ส่วนของโครงสร้างของหลังคา หรือหลังพระประธาน เช่น ภาพอดีตพระพุทธเจ้า ลายพันธุ์พฤกษา และลายเทวดา
- ลายคำแบบขูดลาย หรือฮายลาย เป็นการปิดทองลายฉลุแล้วขูดลายเส้นลงบนพื้นที่ปิดทองคำเปลวไปแล้ว เทคนิคการขูดลายนี้ เป็นเทคนิคที่มีลักษณะคล้ายกันกับการทำลวดลายภาชนะเครื่องเขิน ที่เรียกว่า “ฮายดอก” ซึ่งเป็นการตกแต่งภาชนะด้วยการใช้เหล็กแหลมกรีดเป็นเส้น
ซึ่งต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดเส้นลึกมากเกินไปจนยางรักกะเทาะ หรือแผ่วเบาเกินไป จนทำให้มองเห็นลายได้ยาก อันเป็นเทคนิคการทำเครื่องเขินแบบวัวลาย