Telling the Story Through the Carved Wooden Door of the Yaksha Guardian at Wat Phaya Phu เล่าเรื่องผ่านประตูไม้แกะทวารบาลรูปกุมภัณฑ์ที่วัดพญาภู

541 Views  | 

Telling the Story Through the Carved Wooden Door of the Yaksha Guardian at Wat Phaya Phu เล่าเรื่องผ่านประตูไม้แกะทวารบาลรูปกุมภัณฑ์ที่วัดพญาภู

When looking deeply into the doors of the vihara at Wat Phaya Phu, one of the important yet often overlooked works of art in Nan province is the carved wooden door featuring Yaksha guardians. These carvings reflect the beliefs and cultural identity of the Nan community. The door is not just an ordinary door; it is designed with inspiration that combines the local craftsmanship of folk artisans with the uniqueness of Nan's art.
เมื่อมองลึกเข้าไปในประตูวิหารของวัดพญาภู หนึ่งในงานศิลปะที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของจังหวัดน่านที่ไม่ค่อยทีใครพูดถึง เป็นภาพของกุมภัณฑ์ที่แกะสลักลงบนประตูไม้ใหญ่ได้สะท้อนถึงความเชื่อและอัตลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชนชาวน่านอย่างเด่นชัด ประตูไม้นี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ประตูธรรมดา แต่ถูกออกแบบด้วยแรงบันดาลใจที่หลอมรวมระหว่างศิลปะพื้นบ้านของช่างฝีมือท้องถิ่น และความเป็นเอกลักษณ์ของงานศิลป์เมืองน่าน


The two Yaksha guardian figures carved on the door express power and protection, symbolizing the safeguarding of religion and the city from various dangers. This door is more than just an entrance to the vihara—it is a window that opens to the beauty of Nan's local art and culture.
ทวารบาลรูปกุมภัณฑ์ทั้งสองตนที่สลักลงบนบานประตูแสดงออกถึงอำนาจและการปกปักษ์รักษา เป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องศาสนาและเมืองจากอันตรายต่างๆ และประตูไม้นี้จึงไม่ใช่เพียงแค่ทางผ่านเข้าสู่วิหาร แต่เป็นอีกหนึ่งหน้าต่างที่เปิดออกสู่ความงดงามของศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองน่าน


The carved wooden door of the Yaksha guardians at Wat Phaya Phu has become an important source of inspiration in graphic design used in activities aimed at educating and understanding Nan's journey towards becoming a member of the UNESCO Creative Cities Network. These designs, used in stage backdrops, event backdrops, program book covers, and posters, reflect the blend of local culture, creativity, and the craftsmanship of Nan designers. Due to positive feedback, these graphics will be used in other activities throughout the province.
ประตูไม้แกะทวารบาลรูปกุมภัณฑ์ที่วัดพญาภู ได้กลายเป็นแหล่งแรงบันดาลใจสำคัญในการออกแบบงานกราฟิกหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมเพื่อความรู้และเข้าในถึงแนวทางการขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ทั้งในส่วนของ stage backdrop, backdrop หน้างาน, ปกหนังสือข้อมูลในงาน, และ Poster งาน. การออกแบบเหล่านี้สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และฝีมือนักออกแบบชาวน่าน ด้วยผลตอบรับที่ดี จะได้นำกราฟิกเหล่านี้นำไปใช้ในกิจการอื่นๆภายในจังหวัดต่อไป


The unique and detailed graphic designs are also inspired by the head of the Nan boat race, an important part of Nan's way of life. These designs combine patterns from silverwork and Tai Lue woven fabric, known for their intricate details, while softening them to create a friendly, approachable look, much like the fun and interesting performances of the Buaphan show.
ซึ่งการออกแบบกราฟิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเต็มไปด้วยรายละเอียดที่ลึกซึ้ง เหล่านี้ยังได้รับแรงบันดาลใจจากหัวโอ้เรือแข่งเมืองน่าน ซึ่งเป็นงานศิลป์ที่มีความสำคัญในวิถีชีวิตของชาวน่าน ผสมผสานกับลวดลายจากเครื่องเงินและลายผ้าทอไทลื้อที่มีความประณีตในทุกรายละเอียด ทั้งหมดนี้ถูกลดทอนให้มีความน่ารักและดูเป็นกันเอง เหมือนกับงานศิลปะแสดงโชว์บัวผันที่สร้างความสนุกสนานและความน่าสนใจ


Nan local artist, Phirawat Sithikulmongkol, drew inspiration from the Yaksha carvings on the doors of Wat Phaya Phu, blending them with modern art in these designs. Whether in the intricate patterns or the bright colors, the details are simplified to create a friendly atmosphere and fun environment. Every piece of work is meticulously designed with the main goal of reflecting Nan's identity and the potential of Nan's people to present the city's beauty to the world.
โดยศิลปินท้องถิ่นของจังหวัดน่าน พีระวัฒน์ สิทธิกุลมงคล ได้ดึงเอารูปแบบการแกะสลักกุมภัณฑ์ที่ประตูวัดพญาภูมาผสมผสานกับศิลปะสมัยใหม่ในงานออกแบบเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายที่ประณีตและสีสันที่สดใส การลดทอนรายละเอียดเพื่อให้ดูเป็นมิตรและสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน งานทุกชิ้นล้วนถูกออกแบบอย่างพิถีพิถัน โดยมีเป้าหมายหลักคือการสะท้อนถึงความเป็นน่านและศักยภาพของคนน่านที่พร้อมนำเสนอความงดงามของเมืองผ่านสู่สายตาของโลก


This creativity stems from the dedication of Nan's artists and community, who hope that Nan will be developed and have the opportunity to join the UNESCO Creative Cities Network. Nan is not just a small town but a city full of artistic and cultural potential, ready to step onto the global stage.
ความสร้างสรรค์นี้เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของศิลปินและชุมชนในน่าน ที่มีความหวังว่า เมืองน่านจะได้รับการพัฒนาและมีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network) น่านแม้เป็นเพียงเมืองเล็กๆ แต่เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศักยภาพทางศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินที่พร้อมจะเผยแพร่สู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ระดับโลก

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy