788 Views |
"Le ma seu nyok kong Mlabri" or "Please come buy Mlabri bagsCome and buy Mlabri bags!" The clear voice of a young Mlabri child echoes through the valley, their eyes sparkling with pride in the ancestral craftsmanship passed down through generations.
"เลอ มา ซือ ญอก คอง มละ เซิม" หรือ "เชิญมาอุดหนุนย่ามของมละบรินะ" เสียงใสๆ ของเด็กน้อยชาวมละบริก้องกังวานอยู่ในหุบเขา แววตาเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในงานฝีมือจากทักษะการสานถุงย่ามจากบรรพบุรุษ ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
"Nyok Mlabri" or rattan bags are a symbol of the Mlabri people, woven from "Ta Paed" or rattan vines found in the deep forest, using ancient wisdom. The strong, durable vines are a constant companion in the Mlabri's nomadic journeys in search of forest products.
"ญอก มละบริ" หรือย่ามเถาวัลย์ คือสัญลักษณ์ของชนเผ่ามละบริ ที่ถักทอขึ้นจาก "ทะแปด" หรือเถาวัลย์ในป่าลึก ด้วยภูมิปัญญาที่สั่งสมมาแต่โบราณ เถาวัลย์ที่เหนียวแน่น ทนทาน คือเพื่อนคู่ใจในการเดินทางของชาวมละบริ ที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานไปตามหาของป่า
As time passes and lifestyles change, "Nyok" remains an integral part of Mlabri life. Nong Aum, or Kanita Sri Chawpa, a young Mlabri woman, shares her deep connection with "Nyok" from a young age. She learned to cut vines, honed her skills from village elders, and mastered natural dyeing techniques using leaves, ultimately creating exquisite "Nyok" bags
วันเวลาผ่านไป วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง แต่ "ญอก" ยังคงอยู่คู่วิถีชีวิตของชาวมละบริ น้องอั้ม หรือ คนิตา ศรีชาวป่า สาวน้อยมละบริรุ่นใหม่ เล่าถึงความผูกพันกับ "ญอก" ตั้งแต่เยาว์วัย เธอเริ่มหัดตัดเถาวัลย์ ฝึกฝนทักษะจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน เรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติจากใบไม้ จนสามารถถักทอ "ญอก" ได้อย่างประณีตงดงาม
Su, or Suree Mlabri Villager, another Mlabri youth passionate about this specialized craft, leads online marketing efforts, creating new, beautiful, and modern "Nyok" designs while preserving the tribe's unique identity. Nyok, the primary material in Mlabri bag weaving, has received the Thai Geographical Indication (GI) seal, guaranteeing its unique origin from Nan province.
น้องสุ หรือ สุรีย์ ชาวพนาไพร เยาวชนมละบริอีกคนที่หลงใหลในงานฝีมือที่ต้องอาศัยทักษะเฉพาะนี้ เธอเป็นแกนนำในการทำตลาดออนไลน์ สร้างสรรค์ "ญอก" รูปแบบใหม่ๆ ให้สวยงาม ทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชนเผ่า ไม่เพียงแต่เป็นวัสดุหลักในงานถักย่ามของพี่น้องมละบริ แต่ญอกยังได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) การันตีความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ว่ามีแหล่งที่มาจากผืนดินเมืองน่าน
The leader of the Mlabri Phu Fah community, Mrs. Aranya Chaw Panaprai, recounts the beginnings of the women's group producing "Nyok" for additional income, attracting the interest of young Mlabri generations eager to participate in preserving and continuing their ancestors' wisdom.
ผู้นำชุมชนมละบริภูฟ้า นางอรัญวา ชาวพนาไพร เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มแม่บ้านผลิต "ญอก" เพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกหลานมละบริรุ่นใหม่ ที่อยากมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
"Nyok" is not merely a bag but a thread connecting people of all ages in the community, fostering pride in Mlabri identity and serving as a significant source of income.
Support from various government and private agencies has made "Nyok Mlabri Nan" widely recognized both domestically and internationally, creating economic opportunities and a bright future for the Mlabri people.
"ญอก" ไม่ได้เป็นเพียงแค่ถุงย่าม แต่เป็นเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงคนทุกวัยในชุมชน สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชนเผ่ามละบริ และเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของชุมชน
การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ช่วยให้ "ญอกมละบริน่าน" เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทั้งในและต่างประเทศ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และอนาคตที่สดใสให้กับชาวมละบริ
"Nyok Mlabri Nan" exemplifies the adaptation of local wisdom to create valuable and unique products, a source of tribal pride ready to be passed on to future Mlabri new generations and an inspiration for other communities to utilize local wisdom in creating sustainable, valuable products.
"ญอกมละบริน่าน" คือตัวอย่างของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอด สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์ เป็นความภาคภูมิใจของชนเผ่า ที่พร้อมจะส่งต่อคุณค่านี้ไปสู่ลูกหลานมละบริรุ่นต่อไป และเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นๆ ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าได้อย่างยั่งยืน